ลักษณะของนิทานพื้นบ้าน
          กุหลาบ มัลลิกะมาส ได้อธิบายว่า นิทานพื้นบ้านมีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการดังนี้
               1.เป็นเรื่องเล่าด้วยถ้อยคำธรรมดา เป็นภาร้อยแก้วไม่ใช่ร้อยกรอง
               2.เล่ากันด้วยปากสืบกันมาเป็นเวลาช้านาน แต่ต่อมาในระยะหลังเมื่อการเขียนเจริญขึ้น ก็อาจเขียนตามเค้าเดิมที่เคยเล่า

ด้วยปากเปล่า  
               3.ไม่ปรากฏว่าผู้เล่าดั้งเดิมนั้นเป็นใครอ้างแต่ว่าเป็นของเก่าฟังมาจากผู้เล่าซึ่งเป็นบุคคลสำคัญยิ่งในอดีตอีกต่อหนึ่ง
 นิทาน  เป็นคำที่มีความหมายกว้าง  หมายถึง  เรื่องที่เล่าสืบต่อกันมานานแล้ว  หรือหมายถึงเรื่องที่แต่งขึ้นใหม่ก็ได้
        
        ส่วน  นิทานพื้นบ้าน  หมายถึง  เรื่องที่เล่าสืบต่อๆ  กันมาในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง  แต่อาจแพร่หลายไปในท้องถิ่นอื่นๆ ใดภายหลัง  ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง
ประคอง  นิมมาเหมินทร์และคณะ ( 2545 : 16-17 ) กล่าวว่า  นิทานพื้นบ้านในวิชาคติชนวิทยา  หมายถึง  เรื่องเล่าที่เล่าสือต่อๆ  กันมา  จากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง  โดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่ง
นิทานพื้นบ้าน  คือ  เรื่องเล่าที่เล่าสู่กันฟังในหมู่บ้าน  ในท้องถิ่นหรืภาคต่างๆ  ของประเทศไทย  เป็นนิทานพื้นบ้านที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย

หน้าต่อไป

1

 


บทเรียนออนไลน์ เรื่อง นิทานพื้นบ้าน
ยินดีตอนรับ สู่บทเรียนออนไลน์