สื่อการเรียนรู้ออนไลน์
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ สำนวนไทยพาเพลิน

 

 

 

 

 

 

    Un title page

 

 

๑. ข้อใดกล่าวถึง สำนวน ไม่ถูกต้อง
ก. สื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมา
ข. ใช้ภาษาเรียบเรียงอย่างสละสลวย
ค. ผู้อ่านหรือผู้ฟังต้องตีความให้เข้ากับเรื่อง
ง. ส่วนใหญ่เกิดจากการนำสิ่งใกล้ตัวมากล่าวเปรียบเปรย

๒. สำนวนข้อใดที่แสดงว่าผู้พูดขาดคุณลักษณะ “ใช้วาจาอ่อนหวาน” ในขณะสนทนา
ก. ยกตนข่มท่าน
ข. ปากว่าตาขยิบ
ค. ปากหวานก้นเปรี้ยว
ง. พูดจามะนาวไม่มีน้ำ

๓. สำนวนใดมีความหมายเชิงบวก
ก. ตบตา
ข. คมในฝัก
ค. น้ำนิ่งไหลลึก
ง. หงิม ๆ หยิบชิ้นปลามัน

๔. สำนวนข้อใดมุ่งสอนเรื่องความขยันขันแข็ง
ก. พร้าขัดหลังเล่มเดียว
ข. อัฐยายซื้อขนมยาย
ค. สอนหนังสือสังฆราช
ง. เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน

๕. “ทั้งสองต่างใช้คำพูดเผ็ดร้อนทุ่มเถียงกันอย่าง ……………………….” ควรเติมสำนวนใดลงในช่องว่าง

ก. คอขาดบาดตาย
ข. ขิงก็ราข่าก็แรง
ค. ขมิ้นกับปูน
ง. ถึงพริกถึงขิง

๖. ใจความสำคัญของโคลงโลกนิติบทนี้มีใจความสำคัญสอดคล้องกับข้อใด ถึงจนทนกัดก้อน กินเกลือ อย่าเที่ยวแล่เนื้อเถือ พวกพ้อง อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ สงวนศักดิ์ โซก็เสาะใส่ท้อง จับเนื้อกินเอง
ก. ดอกไม้ดอกเดียวร้อยพวงมาลัยไม่ได้
ข. เมื่อล้มลงจงลุกขึ้นด้วยกำลังของตัวเอง
ค. มีศัตรูเป็นบัณฑิต ดีกว่ามีมิตรเป็นคนพาล
ง. ความสุขสบายไม่เคยปั้นใครให้เป็นมหาบุรุษ

๗. คำคมในข้อใดมีแนวคิดแตกต่างจากข้ออื่น
ก. ไม่กล้า ก็ไม่มีวันเดินหน้า
ข. อย่ากลัวที่จะก้าวไปช้าๆ จงกลัวที่จะอยู่นิ่งเฉย
ค. คนเราแก้อดีตไม่ได้ แต่อาจเปลี่ยนอนาคตได้
ง. ความล้มเหลวที่สุด คือการไม่กล้าแม้แต่จะลองทำ ง. ความล้มเหลวที่สุด คือการไม่กล้าแม้แต่จะลองทำ

๘. การใช้สำนวนสุภาษิตอย่างมีประสิทธิภาพควรเป็นไปตามข้อใด
ก. ใช้ได้ตรงตามหน้าที่
ข. ใช้ได้ตรงตามความหมาย
ค. ใช้ได้ตรงตามจุดมุ่งหมาย
ง. ใช้ได้ตรงตามระดับภาษา

๙. “ถ้าทำอะไรรุนแรงคนไม่เกรงใจ แต่ถ้าพูดจาอ่อนหวานคนจะทั้งรักทั้งเกรง” ตรงกับสำนวนใด
ก. ปากว่าตาขยิบ
ข. ถือถือสากปากถือศีล
ค. น้ำร้อนปลาเป็นน้ำเย็นปลาตาย
ง.ปากหวานปานชะเอม ใจเค็มเหมือนเกลือ

๑๐. ข้อใดมีความหมายต่างจาก “เอาหูไปนาเอาตาไปไร่”
ก. ปล่อยปละละเลย
ข. ไม่ลงมือทำงาน
ค. ไม่เอาจริงเอาจัง
ง. แสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น

Score =
Correct answers:

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดสวนถาด
การละเล่นไทย
คำบาลี-สันสกฤต
คำเป็น-คำตาย
ประโยคความรวม
เสียงในภาษาไทย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                  ออกแบบและพัฒนาโดย นายพีระพล โพธิ์แย้ม และ นางสาวจิราภรณ์ ผ่อนดี